พระราชบัญญัติงาช้าง พ.ศ. ๒๕๕๘
เพื่อให้เป็นไปตามกฏหมายดังกล่าว สมาชิกทุกท่านต้องอ่านทำความเข้าใจและปฏิบัติตามอย่างเคร่งคัด
พระนาคปรกแสงอรุ...
พระนาคปรกแสงอรุณ พิมพ์เล็ก
พระนาคปรก เป็นพระพุทธรูปปางหนึ่ง ที่อยู่ในพระอิริยาบถนั่งขัดสมาธิ บนขนดพญานาคที่แผ่พังพาน มีเจ็ดเศียรปกคลุมเบื้องบนพระเศียร องค์สมเด็จ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ขณะประทับนั่งขัดสมาธิ ทรงหงายพระหัตถ์ทั้งสองข้าง วางซ้อนกันบนพระเพลา กาลครั้งนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จ ไปประทับนั่งเสวยวิมุติสุขอยู่ใต้ร่มไม้จิก ชื่อว่า มุจลินท์ ซึ่ง ตั้งอยู่ทางทิศอาคเนย์ของต้นมหาโพธิ์ใหญ่ พลันบังเกิดมีฝนตกพรำอยู่ไม่ขาดสายตลอดเจ็ดวันเจ็ดคืน ครั้งนั้นพญานาคราชแผ่พังพานปกคลุมเสมือนร่มเศวตฉัตร กั้นมิให้ฝนและลมหนาวพัดต้องพระวรกายพระพุทธองค์ อีกทั้งยังป้องกันเหลือบยุง บุ้ง ร่าน ริ้น และ บรรดาสัตว์เลื้อยคลานทั้งมวลด้วย พระพุทธรูป ปางนาคปรก นี้ นิยมสร้างเป็นพระพุทธรูปที่สักการบูชา ประจำวันของผู้ที่เกิด วันเสาร์ อาทิเช่น เจ้าพระคุณสมเด็จ พระมหาวีรวงศ์ ( ติสฺสมหาเถระ อ้วน ) อดีตเจ้าอาวาส วัดสุปัฏนาราม จ.อุบลราชธานี ช่วงระหว่างปี พ.ศ.2446 ถึง 2470 และเป็นเจ้าอาวาสครอง วัดบรมนิวาส ราชวรวิหาร เลขที่ 2 แขวงรองเมือง เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร ช่วงระหว่างปี พ.ศ.2475 ถึง 2485 ท่านเจ้าพระคุณสมเด็จฯ เกิดวันเสาร์ ดังนั้นจึงนิยมสร้าง พระพุทธรูปปาง พระนาคปรก ไว้บูชา
ลุปีมะโรง พ.ศ.2495 เนื่องในพระพิธีงานฉลองชนมายุ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ ( ติสฺโส อ้วน ) เมื่อวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ.2495 ขณะนั้น เจ้าพระคุณสมเด็จฯ มีอายุ 75 พรรษาที่ 54 จึงมีบัญชาให้ นายช่างฟุ้ง อ้นเจริญ นายช่างหล่อพระปฏิมา สำนักงานไตรยสรณาคม เลขที่ 322/2 ซอยวัดวิเศษการ แขวงบ้านช่างหล่อ เขตบางกอกน้อย ฝั่งธนบุรี เป็นผู้หล่อ พระนาคปรก สมัยทวาราวดี เป็นพระพุทธรูปประจำองค์ของ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ ( ติสฺสมหาเถระ อ้วน ) นับแต่นั้นมา และนิยมเรียกสมญานาม พระนาค เหล่านี้ว่า ปรกวัดสุปัฏน์ บางครั้งเรียกว่า พระนาคปรก แสงอรุณ สืบเนื่องจากจำลองถอดแบบมาจาก พระนาคปรก สมัยทวาราวดี องค์หนึ่ง มีความสูงประมาณหนึ่งเมตร เป็นพระพุทธรูปศิลาสีเขียวคล้ำ ซึ่งเจ้าพระคุณ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ ( ติสฺสมหาเถระ อ้วน ) ไปพบเข้าโดยบังเอิญที่จังหวัดหนึ่งในภาคอีสาน ได้จากป่าลึกเขตแดนอุบลราชธานี แล้วนำไปประดิษฐานไว้บนแท่นบูชา พระประธานใน วัดสุปัฏนาราม เลขที่ 1 ริมฝั่งแม่น้ำมูล ต.ในเมือง อ.เมือง จ.อุบลราชธานี ทุกวันนี้ก็ยังมีปรากฏอยู่ที่แห่งนั้น ครั้นเมื่อนายช่างฟุ้ง อ้นเจริญ หล่อขึ้นที่โรงงานหล่อพระ ตั้งอยู่ในที่ดินละแวกบ้านช่างหล่อ ซึ่งเป็นที่ดินของท่าน มหาเถา ธรรมเจริญ คหบดีใจบุญแห่ง บ้านช่างหล่อ ขณะนั้น นายฟุ้งได้รับเลือกเป็นคนขยันประจำตำบล บ้านช่างหล่อ อ.บางกอกน้อย งานชิ้นแรกในชีวิตของนายช่างฟุ้งก็คือ หล่อ พระนาคปรก สมัยทวาราวดี ให้แก่ วัดบรมนิวาส ขนาดหน้าตัก 6 นิ้ว และขนาดหน้าตัก 4 นิ้ว ส่วนขนาดเล็กมีขนาด 1 นิ้วครึ่ง และขนาด 1 นิ้ว ในงานเดียวกันนี้ได้ออกเหรียญด้านหน้าเป็น เจ้าคุณอุบาลีฯ ( จันทร์ สิริจันโท ) ด้านหลังเป็น ท่านเจ้าคุณ ( ติสฺโส อ้วน ) จำนวนรวมประมาณหนึ่งพันองค์ เรียกขานพระนามว่า พระนาคปรก วัดบรมนิวาส หรือเรียกสั้นๆว่า ปรกวัดบรม เนื่องในพระพิธีงานฉลองชนมายุ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ ( ติสฺสมหาเถระ อ้วน ) เพื่อ แจกในวันเกิด คือ วันเสาร์ที่ 21 มีนาคม พ.ศ.2495 การหล่อสำเร็จทันกำหนดครั้งนั้น นายช่างฟุ้ง อ้นเจริญ มีความภาคภูมิใจที่สุด และมักจะกล่าวขวัญอยู่เสมอว่านับแต่นั้นมาก็มีชื่อเสียงและฐานะมั่งคั่ง
ลักษณะ พระนาคปรก วัดบรมนิวาส [ พระนาคปรก แสงอรุณ ( ปรกวัดสุปัฏน์ ) รุ่นแรก พ.ศ.2495 ]
เป็น พระพุทธรูป ปางนาคปรก อยู่ในอิริยาบถนั่งขัดสมาธิ บนขนดพญานาคสามชั้น ทรงหงายพระหัตถ์ทั้งสองวางซ้อนกันบนพระเพลา สร้างขึ้นตามศิลปะทวาราวดี จึงมีท่วงท่าขึงขัง สง่างาม น่าเกรงขาม เบื้องบนมีเศียรพญานาคเจ็ดเศียรแผ่พังพานปกคลุม ที่เบื้องล่างใกล้ฐานมีเม็ดบัวไข่ปลากลมๆ จำนวนมาก เรียงรายรอบฐานสองชั้น และมีตัวหนังสือไทยเขียนว่า พระพิธีงานฉลองชนมายุ สมเด็จมหาวีรวงศ์ ติสฺโส อ้วน พ.ศ.2495 เป็นพระประจำองค์ของ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ ( ติสฺสมหาเถระ อ้วน )
คุณลุงพลอย ท้วมเอี่ยม ปัจจุบันอายุ 87 ปี เคยบวชอยู่ วัดบรมนิวาส มีตำแหน่งเป็น พระครูธรรมธร ( พลอย อุรุโณ ) ปฏิบัติรับใช้ สมเด็จมหาวีรวงศ์ ( ติสฺโส อ้วน ) ผู้สร้างพระนาคปรก แสงอรุณ ได้เล่าว่า พระนาคปรก สมัยทวาราวดี ที่เป็นต้นแบบของ พระนาคปรก แสงอรุณ นั้น สมเด็จท่านได้มาในขณะจำพรรษาอยู่ วัดศรีอุบลรัตนาราม จ.อุบลราชธานี ในครั้งนั้นได้มีคนนำถวายท่าน ผู้ที่ได้นำถวายเล่าว่า มีอาชีพทำนาอยู่อำเภอศรีมหาโพธิ์ จ.ปราจีนบุรี วันหนึ่งไปไถนาตามปกติก็พบ พระพุทธรูปนาคปรก สมัยทวาราวดี องค์นี้จมดินอยู่กลางท้องนา เป็นพระพุทธรูปเนื้อหิน จึงได้นำมาถวายท่านไว้ สมเด็จฯ เล่าให้คุณลุงพลอยฟังว่า เมื่อได้รับมารู้สึกดีใจ เพราะเป็นพระประจำวันเกิด ด้วยท่านเกิดวันเสาร์ นอกจากนั้นยังชอบในพุทธลักษณะที่งดงาม จึงได้บูชาเป็นพระประจำ จะไปไหนต้องนำติดตัวไปด้วย ตอนที่ไปจำพรรษาอยู่ วัดสุปัฏนาราม ก็นำไปบูชาไว้ในพระอุโบสถ คุณลุงพลอยเล่าว่า สมเด็จฯเป็นพระสมถะไม่สะสม ท่านไม่มีสมบัติอะไรเลย สิ่งของเครื่องใช้เป็นไปตามธรรมดา ครั้นเมื่อจะทำบุญอายุครบ 84 ปี (7 รอบ) บรรดาลูกศิษย์สมัยนั้น อาทิ จอมพลผิน ชุณหะวัน พลตำรวจเอก เผ่า ศรียานนท์ และ นพ.ฝน แสงสิงแก้ว จึงชวนกันจัดงานทำบุญอายุให้ท่าน ในงานนี้ได้มีการสร้าง พระพุทธรูปนาคปรก ซึ่งเรียกว่า พระนาคปรก แสงอรุณ ขึ้นมาในงานนี้ เททองที่ วัดบรมนิวาส มีพระสายป่ากรรมฐาน มาร่วมพิธีเททองและปลุกเสกมากมาย เท่าที่จำได้ ท่านอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาโม วัดป่าสาลวัน จ.นครราชสีมา หลวงปู่ดูลย์ อตุโล วัดบูรพาราม จ.สุรินทร์ หลวงปู่กินรี จนฺนิโย วัดกัณตะศิลาวาส จ.นครพนม หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี วัดหินหมากเป้ง จ.หนองคาย หลวงปู่อ่อน วัดป่านิโครธาราม จ.อุดรธานี หลวงปู่พรหม จิรปุญโญ วัดประสิทธิธรรม จ.อุดรธานี หลวงปู่ขาว อนาลโย วัดถ้ำกลองเพล จ.อุดรธานี พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร วัดป่าอุดมสมพร
จ.สกลนคร หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม วัดป่าอรัญญวิเวก จ.นครพนม หลวงปู่สาม อกิญจโน วัดป่าไตรวิเวก จ.สุรินทร์ พระอาจารย์จวน กุลเชฏโธ วัดเจติยาคิรีวิหาร ( ภูทอก ) จ.หนองคาย คุณลุงพลอย เล่าว่า จำได้ไม่หมดมีอีกมาก พระกรรมฐานสายอีสานมากันแทบทุกองค์เต็ม วัดบรมนิวาส ครั้นเมื่อเสร็จงานทำบุญอายุและพิธีในปี พ.ศ.2499 แล้ว ท่านเจ้าคุณ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ ( ติสฺโส อ้วน ) ได้มอบ พระนาคปรก แสงอรุณ ( ปรกวัดสุปัฏน์ ) พิมพ์เล็ก ให้คุณลุงพลอยไว้บูชาประจำตัวหนึ่งองค์ ซึ่งคุณลุงพลอยบูชาอยู่จนทุกวันนี้
ผู้เข้าชม
4707 ครั้ง
ราคา
โทรถาม
สถานะ
ขายแล้ว
โดย
ชื่อร้าน
ร้านบูรพาจารย์
ร้านค้า
โทรศัพท์
ไอดีไลน์
0882608801
บัญชีธนาคารยืนยันตัวตน
1. ธนาคารกสิกรไทย / 499-2-04111-6

ผู้เข้าใช้งานล่าสุด
ภูมิ IRchaithawatกรัญระยองChobdoysata ep8600kaew กจ.
vanglannaเจริญสุขvaravetlynnhoppermanบี บุรีรัมย์
บ้านพระสมเด็จnaputจ่าดี พระกรุอ้วนโนนสูงนานาโกหมู
โจ๊ก ป่าแดงtermboonมนต์เมืองจันท์หริด์ เก้าแสนsomemanเธียร
natthanetตุ๊ก แปดริ้วปุณยนุชนะ ย่าโมErawanฮาเร็ม

ผู้เข้าชมขณะนี้ 1639 คน

เพิ่มข้อมูล

พระนาคปรกแสงอรุณ พิมพ์เล็ก




  ส่งข้อความ



ชื่อพระเครื่อง
พระนาคปรกแสงอรุณ พิมพ์เล็ก
รายละเอียด
พระนาคปรก เป็นพระพุทธรูปปางหนึ่ง ที่อยู่ในพระอิริยาบถนั่งขัดสมาธิ บนขนดพญานาคที่แผ่พังพาน มีเจ็ดเศียรปกคลุมเบื้องบนพระเศียร องค์สมเด็จ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ขณะประทับนั่งขัดสมาธิ ทรงหงายพระหัตถ์ทั้งสองข้าง วางซ้อนกันบนพระเพลา กาลครั้งนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จ ไปประทับนั่งเสวยวิมุติสุขอยู่ใต้ร่มไม้จิก ชื่อว่า มุจลินท์ ซึ่ง ตั้งอยู่ทางทิศอาคเนย์ของต้นมหาโพธิ์ใหญ่ พลันบังเกิดมีฝนตกพรำอยู่ไม่ขาดสายตลอดเจ็ดวันเจ็ดคืน ครั้งนั้นพญานาคราชแผ่พังพานปกคลุมเสมือนร่มเศวตฉัตร กั้นมิให้ฝนและลมหนาวพัดต้องพระวรกายพระพุทธองค์ อีกทั้งยังป้องกันเหลือบยุง บุ้ง ร่าน ริ้น และ บรรดาสัตว์เลื้อยคลานทั้งมวลด้วย พระพุทธรูป ปางนาคปรก นี้ นิยมสร้างเป็นพระพุทธรูปที่สักการบูชา ประจำวันของผู้ที่เกิด วันเสาร์ อาทิเช่น เจ้าพระคุณสมเด็จ พระมหาวีรวงศ์ ( ติสฺสมหาเถระ อ้วน ) อดีตเจ้าอาวาส วัดสุปัฏนาราม จ.อุบลราชธานี ช่วงระหว่างปี พ.ศ.2446 ถึง 2470 และเป็นเจ้าอาวาสครอง วัดบรมนิวาส ราชวรวิหาร เลขที่ 2 แขวงรองเมือง เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร ช่วงระหว่างปี พ.ศ.2475 ถึง 2485 ท่านเจ้าพระคุณสมเด็จฯ เกิดวันเสาร์ ดังนั้นจึงนิยมสร้าง พระพุทธรูปปาง พระนาคปรก ไว้บูชา
ลุปีมะโรง พ.ศ.2495 เนื่องในพระพิธีงานฉลองชนมายุ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ ( ติสฺโส อ้วน ) เมื่อวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ.2495 ขณะนั้น เจ้าพระคุณสมเด็จฯ มีอายุ 75 พรรษาที่ 54 จึงมีบัญชาให้ นายช่างฟุ้ง อ้นเจริญ นายช่างหล่อพระปฏิมา สำนักงานไตรยสรณาคม เลขที่ 322/2 ซอยวัดวิเศษการ แขวงบ้านช่างหล่อ เขตบางกอกน้อย ฝั่งธนบุรี เป็นผู้หล่อ พระนาคปรก สมัยทวาราวดี เป็นพระพุทธรูปประจำองค์ของ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ ( ติสฺสมหาเถระ อ้วน ) นับแต่นั้นมา และนิยมเรียกสมญานาม พระนาค เหล่านี้ว่า ปรกวัดสุปัฏน์ บางครั้งเรียกว่า พระนาคปรก แสงอรุณ สืบเนื่องจากจำลองถอดแบบมาจาก พระนาคปรก สมัยทวาราวดี องค์หนึ่ง มีความสูงประมาณหนึ่งเมตร เป็นพระพุทธรูปศิลาสีเขียวคล้ำ ซึ่งเจ้าพระคุณ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ ( ติสฺสมหาเถระ อ้วน ) ไปพบเข้าโดยบังเอิญที่จังหวัดหนึ่งในภาคอีสาน ได้จากป่าลึกเขตแดนอุบลราชธานี แล้วนำไปประดิษฐานไว้บนแท่นบูชา พระประธานใน วัดสุปัฏนาราม เลขที่ 1 ริมฝั่งแม่น้ำมูล ต.ในเมือง อ.เมือง จ.อุบลราชธานี ทุกวันนี้ก็ยังมีปรากฏอยู่ที่แห่งนั้น ครั้นเมื่อนายช่างฟุ้ง อ้นเจริญ หล่อขึ้นที่โรงงานหล่อพระ ตั้งอยู่ในที่ดินละแวกบ้านช่างหล่อ ซึ่งเป็นที่ดินของท่าน มหาเถา ธรรมเจริญ คหบดีใจบุญแห่ง บ้านช่างหล่อ ขณะนั้น นายฟุ้งได้รับเลือกเป็นคนขยันประจำตำบล บ้านช่างหล่อ อ.บางกอกน้อย งานชิ้นแรกในชีวิตของนายช่างฟุ้งก็คือ หล่อ พระนาคปรก สมัยทวาราวดี ให้แก่ วัดบรมนิวาส ขนาดหน้าตัก 6 นิ้ว และขนาดหน้าตัก 4 นิ้ว ส่วนขนาดเล็กมีขนาด 1 นิ้วครึ่ง และขนาด 1 นิ้ว ในงานเดียวกันนี้ได้ออกเหรียญด้านหน้าเป็น เจ้าคุณอุบาลีฯ ( จันทร์ สิริจันโท ) ด้านหลังเป็น ท่านเจ้าคุณ ( ติสฺโส อ้วน ) จำนวนรวมประมาณหนึ่งพันองค์ เรียกขานพระนามว่า พระนาคปรก วัดบรมนิวาส หรือเรียกสั้นๆว่า ปรกวัดบรม เนื่องในพระพิธีงานฉลองชนมายุ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ ( ติสฺสมหาเถระ อ้วน ) เพื่อ แจกในวันเกิด คือ วันเสาร์ที่ 21 มีนาคม พ.ศ.2495 การหล่อสำเร็จทันกำหนดครั้งนั้น นายช่างฟุ้ง อ้นเจริญ มีความภาคภูมิใจที่สุด และมักจะกล่าวขวัญอยู่เสมอว่านับแต่นั้นมาก็มีชื่อเสียงและฐานะมั่งคั่ง
ลักษณะ พระนาคปรก วัดบรมนิวาส [ พระนาคปรก แสงอรุณ ( ปรกวัดสุปัฏน์ ) รุ่นแรก พ.ศ.2495 ]
เป็น พระพุทธรูป ปางนาคปรก อยู่ในอิริยาบถนั่งขัดสมาธิ บนขนดพญานาคสามชั้น ทรงหงายพระหัตถ์ทั้งสองวางซ้อนกันบนพระเพลา สร้างขึ้นตามศิลปะทวาราวดี จึงมีท่วงท่าขึงขัง สง่างาม น่าเกรงขาม เบื้องบนมีเศียรพญานาคเจ็ดเศียรแผ่พังพานปกคลุม ที่เบื้องล่างใกล้ฐานมีเม็ดบัวไข่ปลากลมๆ จำนวนมาก เรียงรายรอบฐานสองชั้น และมีตัวหนังสือไทยเขียนว่า พระพิธีงานฉลองชนมายุ สมเด็จมหาวีรวงศ์ ติสฺโส อ้วน พ.ศ.2495 เป็นพระประจำองค์ของ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ ( ติสฺสมหาเถระ อ้วน )
คุณลุงพลอย ท้วมเอี่ยม ปัจจุบันอายุ 87 ปี เคยบวชอยู่ วัดบรมนิวาส มีตำแหน่งเป็น พระครูธรรมธร ( พลอย อุรุโณ ) ปฏิบัติรับใช้ สมเด็จมหาวีรวงศ์ ( ติสฺโส อ้วน ) ผู้สร้างพระนาคปรก แสงอรุณ ได้เล่าว่า พระนาคปรก สมัยทวาราวดี ที่เป็นต้นแบบของ พระนาคปรก แสงอรุณ นั้น สมเด็จท่านได้มาในขณะจำพรรษาอยู่ วัดศรีอุบลรัตนาราม จ.อุบลราชธานี ในครั้งนั้นได้มีคนนำถวายท่าน ผู้ที่ได้นำถวายเล่าว่า มีอาชีพทำนาอยู่อำเภอศรีมหาโพธิ์ จ.ปราจีนบุรี วันหนึ่งไปไถนาตามปกติก็พบ พระพุทธรูปนาคปรก สมัยทวาราวดี องค์นี้จมดินอยู่กลางท้องนา เป็นพระพุทธรูปเนื้อหิน จึงได้นำมาถวายท่านไว้ สมเด็จฯ เล่าให้คุณลุงพลอยฟังว่า เมื่อได้รับมารู้สึกดีใจ เพราะเป็นพระประจำวันเกิด ด้วยท่านเกิดวันเสาร์ นอกจากนั้นยังชอบในพุทธลักษณะที่งดงาม จึงได้บูชาเป็นพระประจำ จะไปไหนต้องนำติดตัวไปด้วย ตอนที่ไปจำพรรษาอยู่ วัดสุปัฏนาราม ก็นำไปบูชาไว้ในพระอุโบสถ คุณลุงพลอยเล่าว่า สมเด็จฯเป็นพระสมถะไม่สะสม ท่านไม่มีสมบัติอะไรเลย สิ่งของเครื่องใช้เป็นไปตามธรรมดา ครั้นเมื่อจะทำบุญอายุครบ 84 ปี (7 รอบ) บรรดาลูกศิษย์สมัยนั้น อาทิ จอมพลผิน ชุณหะวัน พลตำรวจเอก เผ่า ศรียานนท์ และ นพ.ฝน แสงสิงแก้ว จึงชวนกันจัดงานทำบุญอายุให้ท่าน ในงานนี้ได้มีการสร้าง พระพุทธรูปนาคปรก ซึ่งเรียกว่า พระนาคปรก แสงอรุณ ขึ้นมาในงานนี้ เททองที่ วัดบรมนิวาส มีพระสายป่ากรรมฐาน มาร่วมพิธีเททองและปลุกเสกมากมาย เท่าที่จำได้ ท่านอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาโม วัดป่าสาลวัน จ.นครราชสีมา หลวงปู่ดูลย์ อตุโล วัดบูรพาราม จ.สุรินทร์ หลวงปู่กินรี จนฺนิโย วัดกัณตะศิลาวาส จ.นครพนม หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี วัดหินหมากเป้ง จ.หนองคาย หลวงปู่อ่อน วัดป่านิโครธาราม จ.อุดรธานี หลวงปู่พรหม จิรปุญโญ วัดประสิทธิธรรม จ.อุดรธานี หลวงปู่ขาว อนาลโย วัดถ้ำกลองเพล จ.อุดรธานี พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร วัดป่าอุดมสมพร
จ.สกลนคร หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม วัดป่าอรัญญวิเวก จ.นครพนม หลวงปู่สาม อกิญจโน วัดป่าไตรวิเวก จ.สุรินทร์ พระอาจารย์จวน กุลเชฏโธ วัดเจติยาคิรีวิหาร ( ภูทอก ) จ.หนองคาย คุณลุงพลอย เล่าว่า จำได้ไม่หมดมีอีกมาก พระกรรมฐานสายอีสานมากันแทบทุกองค์เต็ม วัดบรมนิวาส ครั้นเมื่อเสร็จงานทำบุญอายุและพิธีในปี พ.ศ.2499 แล้ว ท่านเจ้าคุณ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ ( ติสฺโส อ้วน ) ได้มอบ พระนาคปรก แสงอรุณ ( ปรกวัดสุปัฏน์ ) พิมพ์เล็ก ให้คุณลุงพลอยไว้บูชาประจำตัวหนึ่งองค์ ซึ่งคุณลุงพลอยบูชาอยู่จนทุกวันนี้
ราคาปัจจุบัน
โทรถาม
จำนวนผู้เข้าชม
4723 ครั้ง
สถานะ
ขายแล้ว
โดย
ชื่อร้าน
ร้านบูรพาจารย์
URL
เบอร์โทรศัพท์
0884009967
ID LINE
0882608801
บัญชีธนาคารยืนยันตัวตน
1. ธนาคารกสิกรไทย / 499-2-04111-6




กำลังโหลดข้อมูล

หน้าแรกลงพระฟรี